จัดอันดับความเข้มของกาแฟจากมากสุดไปน้อยสุด

รู้เรื่อง! เมนูกาแฟอะไรเข้มที่สุด? จัดอันดับความเข้มของกาแฟจากมากสุดไปน้อยสุด

Oct 31, 2024imcnn q

เมนูกาแฟแต่ละแก้วล้วนมีรสชาติและให้สัมผัสที่แตกต่างกัน บางแก้วเบา ๆ สบาย ๆ บางแก้วเข้มข้นจนต้องร้องขอชีวิต ถ้าอยากรู้ว่าเมนูกาแฟแก้วโปรดที่ดื่มอยู่ทุกวันจัดอยู่ในระดับความเข้นข้นไหน ไปเปิดโลกของกาแฟ พร้อมเปรียบเทียบระดับความเข้มของกาแฟ  ตั้งแต่กาแฟที่เบาที่สุดจนถึงกาแฟที่เข้มข้นที่สุดแต่ละเมนูกัน! 


ระดับความเข้มของกาแฟ มีกี่ระดับ

 

ระดับความเข้มของกาแฟ

 

หากเป็นร้านกาแฟทั่วไปจะแบ่งระดับความเข้มของกาแฟออกเป็น 3 ระดับ คือ คั่วอ่อน คั่วกลาง คั่วเข้ม แต่หากเป็น Specialty ที่เน้นความหลากหลายและความพิเศษของรสชาติกาแฟมากกว่า มักจะเป็นออกเป็น 5 ระดับ ดังนี้

1. กาแฟคั่วอ่อน (Light Roast): มีสีน้ำตาลอ่อนปนเทาคล้ายสีอบเชย มีรสเปรี้ยว กลิ่นหอมของผลไม้ และมีคาเฟอีนน้อยที่สุด

2. กาแฟคั่วอ่อนปานกลาง (Medium Light Roast): สีจะเข้มขึ้นมาจากคั่วอ่อนเล็กน้อย ยังคงความเปรี้ยวของผลไม้ แต่ความขมจะเริ่มปรากฏขึ้นมาบ้าง

3. กาแฟคั่วกลาง (Medium Roast): เมล็ดกาแฟจะมีสีน้ำตาลเข้ม ผิวแห้งแต่ก็มันวาวระดับหนึ่ง มีความสมดุลของรสชาติทั้งเปรี้ยว หวาน และขม เป็นที่นิยมและหาซื้อง่าย

4. กาแฟคั่วเข้มปานกลาง (Medium Dark Roast): สีจะเข้มขึ้นกว่าคั่วกลาง ความขมจะเด่นชัดขึ้น มีกลิ่นคาราเมล

5. กาแฟคั่วเข้ม (Dark Roast): มีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ผิวมันวาว ความขมจะเด่นชัดมาก มีกลิ่นไหม้ รสชาติที่เข้มข้น และมีคาเฟอีนสูงสุด


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มของกาแฟ 

1. การคั่ว

เป็นปัจจัยหลักที่กำหนดระดับความเข้มของกาแฟ ยิ่งคั่วเข้มมากเท่าไหร่ สีของเมล็ดกาแฟก็จะเข้มขึ้น และรสขมก็จะมากขึ้นตามไปด้วย โดยกระบวนการคั่วนี้จะส่งผลต่อรสชาติ กลิ่น และสีของกาแฟอย่างมาก โดยเฉพาะระดับความเข้มของกาแฟ 

 

2. ชนิดของเมล็ดกาแฟ

ชนิดของเมล็ดกาแฟ ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการกำหนดระดับความเข้มของกาแฟ แม้ว่าการคั่วจะเป็นตัวแปรหลักก็ตาม แต่สายพันธุ์ของเมล็ดกาแฟก็มีส่วนช่วยสร้างความแตกต่างในรสชาติและคาเฟอีนได้เช่นกัน โดยทั่วไปสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ อาราบิก้า (Arabica) เพราะมีรสชาติที่หลากหลาย ตั้งแต่เปรี้ยว หวาน ไปจนถึงกลิ่นหอมดอกไม้และผลไม้ มีคาเฟอีนต่ำกว่าโรบัสต้า ในขณะที่โรบัสต้า (Robusta) จะมีรสชาติขม เข้มข้น มีคาเฟอีนสูงกว่าอาราบิก้า มักใช้ในกาแฟผสมหรือกาแฟสำเร็จรูป

 

3. วิธีการชง

วิธีการชงแต่ละแบบจะส่งผลต่อปริมาณกาแฟที่สกัดออกมา และสารที่ละลายออกมาจากเมล็ดกาแฟ ซึ่งก็คือ รสชาติและคาเฟอีนนั่นเอง ยกตัวอย่าง การทำเอสเปรสโซ จะทำให้กาแฟมีความเข้มข้นสูง เนื่องจากสารต่าง ๆ ถูกสกัดออกมาอย่างเข้มข้น ในทางตรงกันข้าม การชงด้วยน้ำมากหรือเวลานาน เช่น French Press จะทำให้กาแฟมีรสชาติอ่อนและถูกเจือจางมากกว่า

 

4. ปริมาณกาแฟและน้ำ

ปริมาณกาแฟและน้ำเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อระดับความเข้มของกาแฟอย่างมาก หากใช้อัตราส่วนของกาแฟมากต่อน้ำจะทำให้กาแฟมีความเข้มข้นสูงและรสชาติที่เด่นชัดขึ้น ในขณะที่การใช้น้ำมากกว่ากาแฟจะทำให้กาแฟมีรสชาติที่อ่อนลงและถูกเจือจางไป เช่น การทำเอสเปรสโซที่มักใช้กาแฟประมาณ 18-20 กรัมต่อน้ำประมาณ 30-40 มิลลิลิตร ทำให้ได้กาแฟที่มีความเข้มข้นและรสชาติที่เข้มข้นที่สุด ในทางตรงกันข้าม การชงกาแฟแบบดริปที่ใช้อัตราส่วนประมาณ 1:15 หรือมากกว่านั้น จะทำให้กาแฟมีรสชาติที่นุ่มนวลและซับซ้อนกว่า ดังนั้น การปรับปริมาณกาแฟและน้ำจึงเป็นวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้เราได้รสชาติกาแฟที่ถูกใจมากที่สุดนั่นเอง


เรียงลำดับเมนูต่าง ๆ กับระดับความเข้มของกาแฟ

 

เมนูกาแฟที่แตกต่างกัน

 

กาแฟที่เราคุ้นเคยกันดีและมักจะพบได้ตามร้านคาเฟ่ทั่วไป เมื่อเรียงลำดับความเข้มข้นจากมากไปน้อย โดยพิจารณาจากวิธีการชงและปริมาณส่วนผสมเบื้องต้น จะเรียงลำดับตามระดับความเข้มของกาแฟได้ดังนี้


Ristretto > Espresso > Americano > Cappuccino > Mocha > Latte

 

1. ริสตเร็ตโต้ (Ristretto) 

เป็นกาแฟที่มีระดับความเข้มสูงสุด เมื่อเทียบกับเอสเปรสโซ่ทั่วไป โดยการชง Ristretto จะใช้กาแฟบดละเอียดและน้ำร้อนในปริมาณที่น้อย ทำให้ได้รสชาติที่เข้มข้นและมีกลิ่นหอมที่ชัดเจน โดยมักจะมีรสชาติที่หวานกว่า

2. เอสเปรสโซ่ (Espresso)

กาแฟเข้มข้นที่สกัดด้วยแรงดันน้ำสูง ทำให้ได้กาแฟที่มีรสชาติเข้มข้นและมีครีมา รสชาติของเอสเปรสโซ่จะมีความเข้มข้น หวานเล็กน้อย และมีความขมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว 

3. อเมริกาโน่ (Americano)

เป็นกาแฟที่มีระดับความเข้มปานกลาง ทำจากเอสเปรสโซ่ผสมน้ำร้อน ซึ่งจะช่วยลดความเข้มข้นของกาแฟให้มีรสชาติที่นุ่มนวลขึ้น สามารถดื่มได้ง่ายในปริมาณมาก

4. คาปูชิโน่ (Cappuccino)

คาปูชิโน่ มีส่วนผสมหลัก คือ เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต  ผสมนมร้อนในปริมาณเท่ากัน และปิดท้ายด้วยฟองนมหนานุ่มบนยอด ทำให้มีรสชาติที่นุ่มนวล

5. มอคค่า (Mocha)

เป็นกาแฟที่มีระดับความเข้มปานกลางถึงอ่อน โดยทำมาจากเอสเปรสโซ่ ผสมนมร้อน และซอสช็อกโกแลต จะมีรสขมจากกาแฟและความหวานจากช็อกโกแลตที่เข้ากันได้ดี ฟองนมที่เพิ่มเข้ามายังช่วยลดความขมของกาแฟได้อีกด้วย

6. ลาเต้ (Latte)

การชงลาเต้จะใช้เอสเปรสโซ่ประมาณ 1 ช็อต ผสมนมร้อนในปริมาณที่มากกว่าคาปูชิโน่ ทำให้ได้รสชาติที่นุ่มนวลและเข้ากันได้ดีกับความหวานจากนม เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการดื่มกาแฟที่ไม่เข้มข้นจนเกินไป

 

สรุปตารางเปรียบเทียบระดับความเข้มของกาแฟของเมนูต่าง ๆ 

เมนู

ส่วนผสม

ระดับความเข้มของกาแฟ มาก > น้อย

Ristretto

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต สกัดน้ำ 15 ml.

⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫

Espresso

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต สกัดน้ำ 30 ml.

⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫

Doppio

เอสเปรสโซ่ 2 ช็อต สกัดน้ำ 60 ml.

⚫⚫⚫⚫⚫⚫⚫

Lungo

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต ใช้เวลาสกัดนาน

⚫⚫⚫⚫⚫⚫

Americano

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + น้ำเปล่า 70-120 ml.

⚫⚫⚫⚫⚫

Affogato

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + ไอศกรีมวานิลลา 1 ลูก

⚫⚫⚫⚫⚫

Macchiato

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + ฟองนม 1-2 ช้อนโต๊ะ

⚫⚫⚫⚫⚫

Cappuccino

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + นมร้อน + ฟองนม + ผงชินนาม่อน

⚫⚫⚫⚫

Mocha

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + โกโก้ + นมร้อน + ฟองนม

⚫⚫⚫⚫

Piccolo Latte

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + นมร้อน 40-50 ml. + ฟองนม

⚫⚫⚫

Flat White

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต  + นมร้อน 150 ml.

⚫⚫

Latte

เอสเปรสโซ่ 1 ช็อต + นมร้อน 120-150 ml. + ฟองนม




ปรับระดับความเข้มของกาแฟง่าย ๆ ด้วยเครื่องชงกาแฟ BENO

จากเมนูต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ก็ยังมีเมนูอื่น ๆ ที่ไม่ได้พูดถึงอีกเพียบ เพราะโลกของกาแฟนั้นกว้างใหญ่และน่าสนใจมาก ปัจจุบันบาริสต้าก็ขยันสร้างสรรค์เมนูใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ความสำคัญคือการหาสไตล์กาแฟที่ใช่สำหรับตัวเอง เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราชอบกาแฟแบบไหน จะทำให้การดื่มกาแฟกลายเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามากขึ้น แต่ต้องดื่มพร้อมกับการดูแลสุขภาพและเลือกรับปริมาณคาเฟอีนให้เหมาะสมในแต่ละวัน ถ้าอยากปรับระดับความเข้มของกาแฟให้เข้ากับรสนิยมของตัวเอง เครื่องชงกาแฟ BENO ก็เป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้เราสร้างสรรค์กาแฟเมนูใหม่ ๆ อร่อยโดนใจได้ง่ายกว่าเดิม!

สนุกกับการทำกาแฟทุกวันกับ Beno เครื่องชงกาแฟสุดคุ้มที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ พร้อมฟังก์ชันปรับตั้งอุณหภูมิและระดับน้ำได้ตามใจชอบ สั่งซื้อเลยวันนี้ ลด 200 บาท เมื่อใช้โค้ด BENOA200 ที่ Shopee Thailand

 

เครื่องคั่วกาแฟ

 



More articles